5 เทคนิคเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่ง เมื่อไกลมือช่าง

5 เทคนิคเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่ง เมื่อไกลมือช่าง

วิธีการสำคัญถ้าต้องเปลี่ยนสายพายไทม์มิ่งรถยนต์ด้วยตัวเอง

สำหรับรถยนต์ แน่นอนว่าส่วนประกอบต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ล้วนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดการชำรุดหรือเสื่อมสภาพ ก็จะส่งผลให้การทำงานของเครื่องยนต์ขัดข้อง แม้ว่าอาจจะเริ่มจุดเล็กๆ แต่หากปล่อยไว้นานๆ เครื่องยนต์ก็จะเกิดการเสียหายลุกลามจนไม่สามารถใช้งานได้เลย นั่นทำให้ผู้ขับขี่จะต้องเสียเวลาและเสียเงินก้อนโต เพื่อนำรถยนต์คู่ใจไปเข้าอู่ แต่สำคัญไปกว่านั้นคืออาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่ได้โดยไม่รู้ตัวนั่นเอง วันนี้เราจึงจะมาพูดถึงส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของเครื่องยนต์ที่ไม่ควรมองข้ามอย่าง “สายพายไทม์มิ่ง” กันว่า มันคืออะไร มีหน้าที่อะไร รวมถึงสัญญาณและระยะเวลาเสื่อมสภาพเมื่อไหร่ พร้อมกับมาบอก 5 เทคนิคในการเปลี่ยนสายพายไทม์มิ่งด้วยตัวเอง เมื่อเกิดเหตุจำเป็น เพื่อให้เป็นประโยชน์และความรู้เบื้องต้นต่อผู้ขับขี่ทุกคน
สายพานไทม์มิ่ง

สายพานไทม์มิ่ง คือ?

สายพานไทม์มิ่ง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สายพานราวลิ้น เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำหน้าที่หลักเพื่อกำหนดจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์ มีลักษณะเป็นสายพานประกอบไปด้วย 4 ส่วนประกอบหลักคือ ร่องฟันคล้ายกับฟันเฟือง ที่มีการหุ้มตัวฟันด้วยเส้นใยโพลีอะไมด์ (Polyamide fabric) เอาไว้เพื่อลดแรงเสียดทานและการสึกหรอ มีโครงสร้างที่ผลิตขึ้นด้วยยางสังเคราะห์ (Elastomer body) โดยเสริมความแข็งแรงให้กับด้านหลังของสายพายด้วยแผ่นโพลีอะไมด์ เพื่อให้ทนต่อความร้อนได้ดียิ่งขึ้น (Fabric backing) ที่ภายในโครงสร้างจะประกอบไปด้วยเส้นใยสำหรับรับแรงดึงที่ทำจากลวดเหล็ก และเส้นใยไฟเบอร์ฝังอยู่ด้านในของสายพาน (Tension members) สายพานไทม์มิ่งจึงถือเป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาให้มีความทนทานในระดับหนึ่ง

 

เมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่ง?

สายพานไทม์มิ่งไม่จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลรักษาเป็นพิเศษ นั่นเป็นเพราะว่าสายพานประเภทนี้ถูกออกแบบให้มีความทนทานอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่จะต้องทำหน้าที่ภายใต้อุณหภูมิสูงภายในเครื่องยนต์ แต่อย่างไรก็ตามด้วยการที่สายพานจะต้องทำงานอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดการเสื่อมสภาพและสึกหรอได้ตามกาลเวลา ดังนั้นสิ่งที่สำคัญสำหรับสายพานไทม์มิ่งก็คือ การตรวจสอบสภาพและการทำงานของสายพานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ได้รับผลกระทบจากการชำรุดของสายพานไทม์มิ่ง เพราะหากสายพานไทม์มิ่งชำรุด เช่น สายขาดในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน ก็อาจจะทำให้ระบบวาล์วและลูกสูบของเครื่องยนต์เกิดการกระแทกกัน เป็นต้น และอีกหลายกรณีที่อาจเกิดขึ้นจนทำให้เครื่องยนต์เสียหายร้ายแรงได้ ฉะนั้นแม้ว่าจะเป็นชิ้นส่วนที่ไม่ต้องดูแลมากนัก แต่ก็ต้องได้รับการเปลี่ยนใหม่เมื่อถึงเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาดังกล่าว จึงแนะนำว่าควรทำการเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่งในกรณีต่อไปนี้

 

    • สายพานไทม์มิ่งครบกำหนดอายุการใช้งานสูงสุดแล้ว
      โดยทั่วไปแล้วสายพานไทม์มิ่งจะมีการกำหนดอายุการใช้งานตามมารตฐานที่ควรเปลี่ยนโดยผู้ผลิตรถยนต์ ให้อยู่ที่ระยะทาง 40,000 ถึง 240,000 กม. ซึ่งในช่วงระยะดังกล่าวนั้น ก็ขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัยทั้งคุณภาพของสายพาน รวมถึงเครื่องยนต์และรถยนต์ในแต่ละรุ่น ที่มีตำแหน่งการติดตั้งต่างๆ อัตราทดเกียร์ และโครงสร้างเครื่องยนต์ที่แตกต่างกันไป ที่จะเป็นตัวกำหนดระยะเวลาการเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่งไปตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตามมีข้อแนะนำว่าควรจะต้องทำการเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่งใหม่หลังจากอายุการใช้งานสูงสุดที่ 7 ปี เพราะสายพานจะเริ่มเสื่อมประสิทธิภาพการใช้งานลงเรื่อยๆ หากปล่อยไว้จนเก่าเกินไป ก็อาจทำให้สายพานชำรุดขณะใช้งานได้

    • สายพานไทม์มิ่งเกิดการชำรุดเสียหาย/สึกหรอ
      นอกจากระยะเวลาตามมาตรฐานที่ควรเปลี่ยนแล้ว พฤติกรรมการใช้งานในการขับขี่รถยนต์ของแต่ละคน ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้สายพานไทม์มิ่งเสื่อมสภาพก่อนเวลาได้ ซึ่งก็นำมาซึ่งการชำรุดของสายพานในหลากหลายกรณีและหลายสาเหตุ โดยหลักๆ ที่พบคือ สายพานไทม์มิ่งขาด หรือส่วนประกอบหลักต่างๆ ของสายพานไทม์มิ่งมีการสึกหรออย่าง ตัวฟัน ด้านหลังของสายพาน ขอบของสายพาน ที่มีการขาด แตก ชำรุด ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มากจากการทำงานผิดตำแหน่งของสายพานไทม์มิ่ง อย่างการวิ่งไม่ตรงลูกรอก หรือการตั้งค่าสายพานที่ไม่ถูกต้องพอดี จนทำให้การทำงานขัดข้องและส่งผลให้สายพาน รวมถึงส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งลูกรอก หรือลูกปืนเสียหายไปด้วย ดังนั้นควรตรวจเช็กสภาพการทำงานของสายพานให้เป็นไปตามปกติ ถ้าหากพบสัญญาณขัดข้องเช่น มีเสียงดังแปลกๆ ภายในเครื่องยนต์ก็ให้ตรวจสอบทันที และเมื่อพบว่าสายพานไทม์มิ่งชำรุดก็แนะนำให้เปลี่ยนใหม่ทันที และควรเปลี่ยนพร้อมกับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องไปด้วยเลย เพื่อป้องกันการทำงานที่ผิดพลาดได้ของสายพานไทม์มิ่งในอนาคตนั่นเอง

5 เทคนิคเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่งด้วยตัวเองยังไง หากจำเป็น!

เมื่อพบว่าสายพานไทม์มิ่งมีปัญหา ผู้ขับขี่จะต้องทำการซ่อมแซม และทางที่ดีที่สุดคือ ต้องเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่งใหม่ เพราะหากไม่ทำการเปลี่ยนใหม่ ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องยนต์ต่อไปได้ ซึ่งในการเปลี่ยนนั้น แนะนำว่าควรเปลี่ยนอุปกรณ์ส่วนควบที่เกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของสายพานไทม์มิ่งไปพร้อมกันด้วยอย่าง ลูกรอกสายพาน เพื่อการทำงานที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และหากถามว่าการเปลี่ยนสายพานไทม์มิ่งด้วยตัวเองยากหรือไม่? ทำได้หรือเปล่า? ก็ต้องตอบว่า สามารถทำได้ แต่แนะนำว่าควรจะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ในเบื้องต้นจะดีกว่า แต่เราก็มีเทคนิคสำคัญในการเปลี่ยนเองมาฝาก เพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นได้เช่นกัน

 

  1. ขั้นแรกให้ถอดขั้วแบตเตอรี่รถยนต์ออก จากนั้นเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยน ให้ถอดฝาครอบสายพานออกก่อน แล้วให้ทำการหมุนหน้าเครื่องเพื่อให้จุดมาร์ก พูลเล่ (Pulley) อยู่ตรงกับขีดของพูลเล่ปั๊มหัวฉีดตรงหัวลูกศร และพูลเล่แคมป์ชาฟตรงหัวลูกศร
    Tips: เลือกใช้สายพานไทม์มิ่งที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และผ่านการเก็บรักษามาอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพก่อนเวลา

  2. ต่อมาให้ถอดตัวดันสายพาน แล้วนำสายพานเก่าออกมาเปลี่ยน และที่สำคัญคือจะต้องตรวจสอบสภาพของลูกปืน ลูกรอก ว่าปกติดีหรือไม่ หากยังปกติดีก็ไม่ต้องเปลี่ยน แต่หากมีงบพอก็ควรจะเปลี่ยนไปด้วย เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นของสายพานไทม์มิ่งใหม่
    Tips: เลือกสายพานไทม์มิ่งที่มีรูปร่างและตัวฟันที่ถูกต้องเหมาะสม ใช้งานกับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องภายในเครื่องยนต์ได้

  3. เมื่อนำสายพานไทม์มิ่งเส้นเก่าออกและตรวจสอบภายในจุดที่จะเปลี่ยนทั้งหมดแล้ว ต่อมาเป็นขั้นตอนของการประกอบสายพานเส้นใหม่กลับเข้าไป โดยให้สายพานอยู่ตรงตำแหน่งที่ถูกต้อง จึงประกอบให้เข้าที่ แล้วดึงตัวช่วยระหว่างล็อกประกอบอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องออก
    Tips: ห้ามบิดสายพานไทม์มิ่งในการติดตั้ง เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายภายในโครงสร้างของเส้นสายพาน (Tension members)

  4. หลังจากประกอบเสร็จแล้ว ให้ตรวจสอบอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่ามาร์กทั้ง 3 จุดสำคัญของสายพานไทม์มิ่ง ได้ถูกวางไว้ตรงตามตำแหน่งแล้วหรือยัง
    Tips: ควรทำตามคำแนะนำในการติดตั้งที่ผู้ผลิตรถยนต์ระบุไว้

  5. เมื่อแน่ใจว่ามาร์กตรงกันทุกตำแหน่งแล้ว ให้ทำการประกอบขั้วแบตเตอรี่รถยนต์ จากนั้นลองสตาร์ทเครื่องยนต์ เพื่อดูว่าการทำงานของสายพานไทม์มิ่งชุดใหม่สมบูรณ์ดีแล้วหรือยัง หากทุกอย่างทำงานเป็นปกติ ก็เป็นอันเสร็จสิ้น
    Tips: ควรใช้เครื่องมือเฉพาะที่เหมาะสมในระหว่างขั้นตอนการติดตั้ง เช่น การตั้งค่าความตึง ควรใช้เครื่องวัดความตึง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้

สายพานไทม์มิ่งนั้นถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญอันดับต้นๆ ของรถยนต์เลยก็ว่าได้ ดังนั้นการหมั่นตรวจสอบการทำงานของสายพานไทม์มิ่งอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง เมื่อพบว่าเกิดการชำรุดเสื่อมสภาพ ผู้ขับขี่จำเป็นจะต้องทำการเปลี่ยนสายพานเส้นใหม่ เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบต่างๆ ที่อาจตามมาทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายได้ หากผู้ขับขี่ท่านไหนกำลังมองหาสายพานไทม์มิ่งคุณภาพสูง ราคายุติธรรม IMC Interparts เราคือผู้นำเข้าและจำหน่าย ชุดสายพานไทม์มิ่งพร้อมลูกรอก สำหรับใช้กับเครื่องรถยนต์ หลากหลายแบรนด์ อาทิ TOYOTA HONDA MAZDA MITSUBISHI BENZ BMW VOLVO จากผู้ผลิตแบรนด์ชั้นนำของโลกอาทิ DAYCO, BEHAbelt, Elatech, Hengst, Continental มาตรฐานสากล และยังเป็นศูนย์รวมสายพานทุกชนิด รวมถึงอะไหล่เครื่องจักรอุตสาหกรรมและเครื่องยนต์ครบวงจรอีกด้วย

เปลี่ยนสายพานไทม์มิ่ง (TIMING BELT) สำหรับรถยนต์ เครื่องยนต์ ราคาประหยัด คุณภาพมาตรฐานสากล นึกถึง IMC interparts สั่งซื้อออนไลน์ได้แล้ววันนี้ พร้อมการจัดส่งทั่วประเทศ

สนใจสั่งซื้อหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ติดต่อ IMC 1994 Co., Ltd.
Phone : +66 02 875 9700 (Auto)
LINE Official Account : @IMC.1994

Avatar Mobile
Main Menu x
X