เจาะลึกรูปแบบของสายพานแต่ละประเภท พร้อมวิธีการติดตั้ง

เจาะลึกรูปแบบของสายพานแต่ละประเภท
พร้อมวิธีการติดตั้ง

รู้จักรูปแบบการติดตั้ง และชนิดของสายพานในโรงงานอุตสาหกรรม

เครื่องจักรอุตสาหกรรมเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับขั้นตอนและกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมทุกรูปแบบ แต่อย่างไรก็ตาม การที่เครื่องจักรอุตสาหกรรมหรือเครื่องยนต์แต่ละประเภทจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั้น เครื่องจักรและเครื่องยนต์ทุกประเภทจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาการทำงานของสายพานอุตสาหกรรม (Belts) ไม่ว่าจะเป็นสายพานแบน (Flat Belts), สายพานวี (V Belts), สายพานกลม (Ropes Belts), และสายพานไทม์มิ่งหรือสายพานราวลิ้น (Timing Belts) ในการช่วยขับเคลื่อนและการช่วยส่งผ่านกำลังจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง

สายพาน

และเพื่อให้การทำงานของเครื่องจักรอุตสาหกรรมและเครื่องยนต์แต่ละชนิดเป็นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด สายพาน หรือสายพานไทม์มิ่ง จึงถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้มีขนาดและรูปลักษณ์ที่หลากหลายเพื่อให้สามารถรองรับกับลักษณะการทำงานของเครื่องจักรและเครื่องยนต์แต่ละประเภทได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นแล้วลองมาดูไปพร้อม ๆ กันเลยว่า สายพานที่ถูกนำมาใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรมนั้นจะมีด้วยกันทั้งหมดกี่รูปแบบ ? และสายพานแต่ละรูปแบบนั้นจะมีรูปลักษณ์ วิธีในการใช้งาน และวิธีการติดตั้งสายพานเพื่อการใช้งานอย่างไรบ้าง ?

ทำความรู้จักกับสายพานแต่ละประเภท

โดยทั่วไปแล้ว สายพานอุตสาหกรรม (Belts) ที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานร่วมกับเครื่องจักรและเครื่องยนต์ในอุตสาหกรรมการผลิตหลากหลายรูปแบบนั้น จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

  1. สายพานไทม์มิ่ง หรือ (Timing Belts)
    สายพานไทม์มิ่ง (Timing Belts) หรือที่ผู้ใช้งานหลาย ๆ คนนิยมเรียกกันในชื่อของสายพานราวลิ้น สายพานตีนตะขาบ หรือสายพานฟันเฟือง เป็นสายพานอีกหนึ่งรูปแบบที่มีลักษณะหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลื่อมคางหมู โดยความพิเศษของสายพานไทม์มิ่งที่มีความโดดเด่นเหนือกว่าสายพานอื่น ๆ อีก 3 รูปแบบนั้น คือ การที่สายพานไทม์มิ่งจะเป็นสายพานส่งกำลัง (Transmission belt) ที่มีร่องฟันของสายพานเป็นลักษณะคล้ายกันกับฟันเฟืองวางเรียงตัวในแนวเดียวกันตลอดความยาวของสายพาน ซึ่งขนาดและรูปแบบของร่องสายพานไทม์มิ่งดังกล่าวนี้เองจะสามารถสบเข้ากับร่องของพูลเลย์ (Pulley) ของเครื่องจักรอุตสาหกรรมหรือเครื่องยนต์ได้อย่างพอดี

    และส่งผลให้สายพานไทม์มิ่งเป็นสายพานที่มีความเร็วในการส่งกำลังที่สม่ำเสมอ อีกทั้งในการใช้งานสายพานไทม์มิ่งนั้นยังไม่ก่อให้เกิดการยึดตัวหรือการลื่นไถลของสายพานในขณะที่กำลังใช้งานจนส่งผลทำให้มีเสียงดังผิดปกติเกิดขึ้นอีกด้วย เพราะฉะนั้นแล้วสายพานไทม์มิ่งจึงเหมาะสำหรับการนำมาใช้งานเพื่อเป็นตัวส่งกำลังในเครื่องยนต์, step motor, servo motor, หรือเครื่องจักรอุตสาหกรรมเล็กต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

  2. สายพานวี หรือ V Belts
    สายพานวี หรือที่ผู้ใช้งานหลาย ๆ คนนิยมเรียกกันว่า สายพานลิ่ม หรือสายพานร่องวี (V-belt) เป็นสายพานส่งกำลัง (Transmission belt) อีกประเภทหนึ่งที่ถูกออกแบบมาให้มีลักษณะหน้าตัดที่คล้ายคลึงกับรูปตัว V หรือรูปสี่เหลี่ยมคางหมู เพื่อประโยชน์ในการช่วยให้สายพานร่องวีสามารถใส่ลงไปในร่องได้อย่างพอดี และมีพื้นที่สัมผัสร่วมกับพูลเลย์ของเพลาขับ (Driver) และพูลเลย์ของตัวตาม (Driven) เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้แรงตึงของสายพานวีมีความเหมาะสมกับการใช้งาน

    เพื่อประสิทธิภาพในการช่วยส่งกำลังของเครื่องจักรอุตสาหกรรมหรือเครื่องยนต์ที่เพิ่มมากขึ้นและอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้นตามไปด้วย แต่อย่างไรตามการทำงานของสายพานวีนั้นก็ยังมีข้อจำกัดตรงที่สายพานวีจะไม่สามารถทำการส่งกำลังแบบไขว้ได้เหมือนกับสายพานแบน (Flat Belts) ส่งผลให้สายพานวีส่วนใหญ่จึงมักจะได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานเพื่อเป็นสายพานสำหรับเครื่องกลึง สายพานสำหรับรถไถนาแบบเดินตาม หรือสายพานสำหรับเครื่องจักรกลทางการเกษตร เป็นต้น

  3. สายพานแบน หรือ Flat Belts
    สายพานแบน หรือ Flat belts เป็นสายพานส่งกำลัง (Transmission belt) ลักษณะเรียบแบนทั้งสองด้าน ที่มีพื้นที่หน้าตัดของสายพานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยสายพานแบนเป็นสายพานที่สามารถถูกผลิตขึ้นมาได้จากวัสดุหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น พลาสติก โลหะ ผ้าใบ หรือสเตนเลส เป็นต้น

    เพราะฉะนั้นแล้ว สายพานแบนจึงถือได้ว่าเป็นหนึ่งในชนิดของสายพาน (Belts) ที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานร่วมกับเครื่องจักรอุตสาหกรรมหรือเครื่องยนต์ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทที่มีลักษณะในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เพื่อประโยชน์ในการช่วยคล้องโยงระหว่างลูกล้อของสายพานหรือพูลเลย์ (Pulley) ของเพลาขับ (Driver) และพูลเลย์ของเพลาตาม (Driven) เข้าด้วยกัน และช่วยทำให้พูลเลย์ของเครื่องจักรอุตสาหกรรมหรือเครื่องยนต์เหล่านี้สามารถทำการขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน รวมไปถึงสามารถช่วยส่งผ่านกำลังจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเพื่อการช่วยขนถ่ายหรือเคลื่อนย้ายวัสดุต่าง ๆ ไปในทิศทางที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  4. สายพานกลม หรือ Ropes Belts
    สายพานกลม หรือที่ผู้ใช้งานหลาย ๆ คนรู้จักกันในชื่อของ Round Belts หรือ Ropes belts เป็นอีกหนึ่งประเภทของสายพานส่งกำลัง (Transmission belt) ที่มีลักษณะหน้าตัดเป็นรูปทรงกลมคล้ายกันกับลักษณะของหนังยางรัดของ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วสายพานกลมมักจะถูกผลิตขึ้นมาจากวัสดุประเภทยางชนิดอ่อน หรือพลาสติกชนิดโพลียูริเทน (Polyurethane) ส่งผลให้สายพานกลมจึงมีคุณสมบัติที่ดีในด้านของความทนทานต่อความชื้น น้ำมัน และจาระบีได้เป็นอย่างดี

    รวมไปถึงมีความยืดหยุ่นในการใช้งานสายพานที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้ในการใช้งานสายพานกลมจึงมักจะไม่ก่อให้เกิดเสียงดังรบกวนในระหว่างการใช้งาน และนอกจากนี้สายพานกลมยังสามารถปรับตั้งทิศทางในการหมุนของสายพานได้หลากหลายทิศทางเพื่อให้สามารถรองรับกับรูปแบบในการใช้งานที่หลากหลายได้อย่างไม่จำกัด แต่อย่างไรก็ตามสายพานกลมส่วนใหญ่ก็มักจะได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานร่วมกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีแรงบิดต่ำ หรือการนำมาติดตั้งเพื่อการใช้งานในเครื่องมือต่าง ๆ อย่างเช่น เครื่องเจาะไฟฟ้า เครื่องเซาะโลหะ เครื่องกลึง เครื่องดูดฝุ่น เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว เป็นต้น

รูปแบบการติดตั้งสายพานเพื่อการใช้ในอุตสาหกรรม

สำหรับการติดตั้งสายพาน (Belts) เพื่อการใช้งานร่วมกับเครื่องจักรอุตสาหกรรมหรือเครื่องยนต์ประเภทต่าง ๆ นั้น โดยทั่วไปแล้วจะสามารถแบ่งออกได้ทั้งหมดเป็น 5 รูปแบบ ตามรูปแบบและทิศทางการขับเคลื่อนของสายพานประเภทต่าง ๆ ดังนี้

  1. การติดตั้งสายพานในรูปแบบ Open belt drive
    การติดตั้งสายพานในรูปแบบ Open belt drive เป็นรูปแบบการติดตั้งสายพานในลักษณะที่มีการคล้องสายพานเข้ากับพูลเลย์ในรูปแบบปกติ โดยที่พูลเลย์ของเพลาขับ (Driver) และพูลเลย์ของตัวตาม (Driven) จะอยู่ในระนาบเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการช่วยให้พูลเลย์ของเครื่องจักรอุตสาหกรรมเกิดการหมุนหรือขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน

  2. การติดตั้งสายพานในรูปแบบ Crossed belt drive
    การติดตั้งสายพานแบบ Crossed belt drive เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการติดตั้งสายพานสำหรับพูลเลย์ของเพลาขับ (Driver) และพูลเลย์ของตัวตาม (Driven) ที่อยู่ในระนาบเดียวกัน แต่การติดตั้งสายพานในรูปแบบนี้จะมีการคล้องสายพานเข้ากับพูลเลย์ในลักษณะไขว้ เพื่อช่วยให้พูลเลย์ทั้ง 2 ตัวของเครื่องจักรอุตสาหกรรมเกิดการหมุนหรือขับเคลื่อนไปในทิศทางตรงข้ามกัน ซึ่งการติดตั้งสายพานในลักษณะดังกล่าวนี้จะเหมาะสำหรับการส่งกำลังให้เครื่องยนต์หรือเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มีความเร็วรอบสูงมากนัก

  3. การติดตั้งสายพานในรูปแบบ Quarter turn belt drive
    การติดตั้งสายพานในรูปแบบ Quarter turn belt drive หรือที่หลาย ๆ คนอาจจะนิยมเรียกกันว่า การติดตั้งสายพานในรูปแบบ Right Angle Belt Drive ซึ่งเป็นรูปแบบการติดตั้งสายพานในลักษณะที่พูลเลย์ของเพลาขับ (Driver) และพูลเลย์ของตัวตาม (Driven) จะถูกติดตั้งอยู่ในระนาบที่ตั้งฉากกัน เพื่อเป็นการช่วยให้พูลเลย์ของสายพานทั้ง 2 ตัวเกิดการหมุนไปในทิศทางเดียวกันในขณะที่กำลังทำมุม 90 องศา ซึ่งวิธีการติดตั้งสายพานในรูปแบบดังกล่าวนี้เองก็จะสามารถช่วยป้องกันไม่ให้สายพานเกิดการลื่นไถลหรือหลุดออกมาจากพูลเลย์จนส่งผลต่อประสิทธิภาพในการใช้งานเครื่องจักรอุตสาหกรรมหรือเครื่องยนต์ที่ลดลงได้

  4. การติดตั้งสายพานในรูปแบบแบบ Step pulley
    การติดตั้งสายพานในรูปแบบ Step pulley หรือการติดตั้งสายพานในรูปแบบ Cone pulley belt drive เป็นการนำสายพานของเครื่องยนต์และเครื่องจักรอุตสาหกรรมมาติดตั้งเข้ากับพูลเลย์ที่มีลักษณะเป็นชั้น ๆ โดยมีการจัดวางให้อยู่ในระนาบเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการช่วยควบคุมความเร็วรอบของพูลเลย์ของตัวตาม (Driven) และการปรับเพิ่มหรือลดความเร็วรอบของเครื่องจักรอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น เครื่องกลึง (Lathe Machine) หรือเครื่องกัด (Milling Machine) เป็นต้น ได้ตามต้องการ

  5. การติดตั้งสายพานในรูปแบบ Jockey pulley belt drive
    การติดตั้งสายพานในรูปแบบ Jockey pulley belt drive เป็นรูปแบบการติดตั้งสายพานที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานในกรณีที่ไม่สามารถทำการติดตั้งสายพานแบบ Open belt drive ได้ เนื่องจากพูลเลย์ของเพลาขับ (Driver) และพูลเลย์ของตัวตาม (Driven) มีมุมสัมผัส (Contact Angle) ที่น้อยจนเกินไป โดยการติดตั้งสายพานในรูปแบบ Jockey pulley belt drive นี้จะมีการนำเอาลูกกลิ้งรองใต้สายพาน (Idle Roller) มาทำการติดตั้งเอาไว้ระหว่างพูลเลย์ทั้ง 2 ตัวของเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มมุมสัมผัสและช่วยให้สายพานสามารถทำการขับเคลื่อนหรือส่งกำลังได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  6. การติดตั้งสายพานในรูปแบบ Compound belt drive
    การติดตั้งสายพานในรูปแบบ Compound belt drive เป็นวิธีการติดตั้งสายพานสำหรับเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่มีการใช้เพลาขับ (Driver) เพียงแค่ชุดเดียวในการช่วยขับเคลื่อนพูลเลย์ของตัวตาม (Driven) หลาย ๆ ตัว เพื่อประโยชน์ในการช่วยเพิ่มความเร็วรอบของเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรอุตสาหกรรมโดยที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้พูลเลย์ของตัวตาม (Driven) ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและพื้นที่ในการติดตั้งสายพานที่เพิ่มมากขึ้น

  7. การติดตั้งสายพานในรูปแบบ Fast & loose pulley drive
    การติดตั้งสายพานในรูปแบบ Fast & loose pulley drive จะเป็นวิธีการติดตั้งสายพานในลักษณะที่มีการใช้พูลเลย์ของตัวตาม (Driven) 2 ตัว มาติดตั้งร่วมกันกับเพลาขับ (Driver) ซึ่งก็คือ Fast Pulley ที่สามารถหมุนด้วยความเร็วที่เท่ากันกับเพลาของเครื่องจักร และ Loose Pulley ที่ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถช่วยส่งกำลังได้แต่สามารถหมุนได้ด้วยความเร็วที่เป็นอิสระ โดยที่พูลเลย์ของตัวตาม (Driven) ทั้ง 2 ตัวนี้จะมีการทำงานสลับกันไปมา เมื่อต้องการให้เกิดการส่งกำลังสายพานจะเปลี่ยนจาก Loose Pulley ไปเป็น Fast Pulley ในขณะที่เมื่อต้องการที่จะหยุดสายพานก็จะเปลี่ยนกลับไปเป็น Loose Pulley เหมือนเดิม เพราะฉะนั้นแล้วการติดตั้งสายพานในรูปแบบ Fast & loose pulley drive นี้จึงสามารถช่วยให้ผู้ใช้งานทำการหยุดการทำงานของเพลาขับได้ในทันทีโดยที่ไม่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนความเร็วของเพลาขับนั่นเอง

บริษัท IMC 1994 จำกัด ดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายสายพานและอะไหล่สำหรับเครื่องจักรอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น สายพานส่งกำลัง (TRANSMISSION BELT), สายพานลำเลียง (CONVEYOR BELT), สายพานไทม์มิ่ง (สายพานราวลิ้น), สายพาน V BELT, TIMING BELT, สายพานพียูไทม์มิ่ง (PU TIMING BELT), สายพานกลม (ROUND BELT), สายพานแบน (FLAT BELT), ถุงลม อุตสาหกรรม (AIR SPRING), สายพานหน้าเครื่อง, ตลอดจนอะไหล่เครื่องจักรอุตสาหกรรมและเครื่องยนต์ครบวงจร จากแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก อาทิ Continental, BehaBelt, Elatech, Dayco ให้เลือกใช้งานได้อย่างหลากหลายตามความต้องการ พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยตอบคำถามและข้อสงสัยเกี่ยวกับอะไหล่ต่าง ๆ ให้กับท่านตลอดเวลา

สนใจสั่งซื้อหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ติดต่อ IMC 1994 Co., Ltd.
Phone : +66 02 875 9700 (Auto)
LINE Official Account : @IMC.1994

X